หน้าหลัก
หมายเหตุ บทความที่ท่านอ่านนี้เป็นบทความแปลจากเอกสารต้นฉบับของ W3C ซึ่งอาจมีข้อผิดพลาดหรือมีเนื้อหาไม่เป็นปัจจุบันได้ ท่านควรดูเอกสารต้นฉบับประกอบการอ่านเพื่อความถูกต้อง

Original Document  CSS SAGA


บทที่ 20
ตำนาน CSS

นี่เป็นบทที่ 20 ของหนังสือ Cascading Style Sheets ในการออกแบบเว็บไซท์ โดย Håkon Wium Lie และ Bert Bos (ตีพิมพ์ครั้งที่ 2, 1999, led grow lights สำนักพิมพ์ Addison Wesley, ISBN 0-201-59625-3)

ตำนาน CSS เริ่มต้นเมื่อปี 1994 ซึ่งขณะนั้น หนึ่งในผู้เขียนหนังสือเล่มนี้กำลังทำงานที่ CERN - ต้นกำเนิดของเว็บไซท์ - และเป็นช่วงที่เว็บไซท์เริ่มถูกนำไปใช้เป็นรูปแบบหลักในการตีพิมพ์สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่แล้วส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งพิมพ์ได้ขาดหายไป นั่นก็คือ เราไม่มีวิธีที่จะกำหนดสไตล์ให้แก่หน้าเอกสารได้เลย ตัวอย่างเช่น หากต้องการสร้างหน้าเพจให้เหมือนกับหน้าของหนังสือพิมพ์จะไม่สามารถทำได้เลย เมื่อ Håkon ได้ทำการทดลองส่วนตัวโดยทำเว็บเลียนแบบหนังสือพิมพ์ที่แลปของ MIT แล้ว เขาพบว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีภาษาสไตล์ชีท (Style Sheet) สำหรับการสร้างเว็บไซท์

สไตล์ชีทไม่ใช่่ไอเดียใหม่ทั้งหมดสำหรับโปรแกรมเบราเซอร์ แนวคิดที่ต้องการแยกโครงสร้างของเอกสารออกจากเลย์เอาท์ของหน้าเอกสาร เป็นเป้้าหมายหนึ่ง ของภาษา HTML ตั้งแต่แรกเริ่มในปี 1990 แล้ว โดย ทิม เบิร์นเนอร์ ลี (Tim Berners-Lee) เขียนโปรแกรมเบราเซอร์/ตัวแก้ไข ชื่อ NeXT ของเขา โดยที่เขาสามารถกำหนดสไตล์ ด้วยสไตล์ชืทง่ายๆได้ แม้ว่าเขาจะไม่ได้เปิดเผยชุดคำสั่งที่ใช้ในการเขียนสไตล์ชีทก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับเบราเซอร์อื่นๆในสมัยนั้นซึ่งยังไม่มีภาษาในการกำหนดสไตล์ เช่น Viola ของ ไป่ เว่ย (Pei Wei) (1992) และเบราเซอร์ Harmony (1993) ซึ่งหน้าเพจที่ดีที่สุดซึ่งแสดงต่อผู้ใช้นั้นจะขึ้นกับเบราเซอร์แต่เพียงอย่างเดียวเลย (1993) ( Hyper-G system เป็นหนึ่งในคู่แข่งของระบบเว็บในยุคแรกเริ่ม) ยกเว้น Hyper-G system ซึ่งมีการใช้ภาษาเทียบเคียงกับภาษาสไตล์ของระบบเว็บไซท์

หากแต่ แทนที่จะมีการพัฒนาสไตล์ชีทที่ก้าวหน้ามากขึ้น เบราเซอร์ทั้งหลายกลับมีทางเลือกในการกำหนดสไตล์ที่น้อยลงแก่ผู้ใช้ของตน จนกระทั่งในปี 1993 โมเซค ( NCSA Mosaic ) เบราเซอร์ซึ่งก่อให้เกิดกระแสความนิยมการใช้งานเว็บ ได้ออกมาสู่ผู้ใช้ แต่โมเซคยังคงเป็นเบราเซอร์ที่ล้าหลังในด้านสไตล์ชืทเช่นเดิม เนื่องจาก โมเซค อนุญาติให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้เพียงสีและแบบตัวอักษรเท่านั้น

ในเวลาเดียวกัน นักเขียนเว็บต่างพากันบ่นว่า พวกเขาไม่มีวิธีที่จะกำหนดหน้าตาเว็บเพจที่เพียงพอ หนึ่งในคำถามแรกสุดของนักเขียนเว็บมือใหม่เลย ก็คือ พวกเขาจะเปลี่ยนแบบตัวอักษรและสีขององค์ประกอบ (elements)ได้อย่างไร HTML ในยุคนั้นไม่มีความสามารถในการทำเช่นนี้ได้ ข้อความด้านล่างนำมาจาก จดหมายข่าว www-talk ในต้นปี 1994 สร้างความรู้สึกความกดดันระหว่างนักเขียนเว็บ และผู้พัฒนา HTML เกิดขึ้น

(ข้อความนี้มาจาก คลัง www-talk )

ในความจริงแล้ว ข้าพเจ้าช่างมีความสุขมากในปีที่ผ่านมาเมื่อได้บอกมวลชนทั้งหลายว่า มาสิท่านทั้งหลาย มาพบกับสิ่งที่จะทำให้ทุกท่านสามารถกำหนดหน้าตาของเอกสารได้ เฉกเช่นกับโปรแกรมประมวลผลคำ เช่น TeX, Microsoft Word และโปรแกรมประมวลผลคำอื่นๆ "เสียใจด้วยนะ ท่านต้องรีบแล้ว"

ผู้เขียนข้อความข้างต้น คือ Marc Andreessen, หนึ่งในโปรแกรมเมอร์ของ NCSA Mosaic ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้ร่วมก่อตั้งของ Netscape ซึ่งหลังจากนั้นเอง มุมมองเกี่ยวกับฟอร์แมทของเขา - หากมันยังเคยเป็นมุมมองของเขา - ได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อ 13 ตุลาคม 1994 Marc Andreessen ได้ประกาศ ต่อ www-talk ว่า โปรแกรมรุ่นเบต้า (beta) รุ่นแรกของ Mozilla สามารถทดสอบใช้งานได้แล้ว (ซึ่งต่อมากลายเป็น Netscape Navigator) แท็ก(tag) ใหม่ๆที่เบราเซอร์รองรับแรกๆ คือ center และแท็กอื่นๆตามมาในภายหลัง

สามวันก่อนที่ Netscape จะประกาศเบราเซอร์ตัวใหม่ Håkon ตีพิมพ์ ร่างแบบแรกของ Cascading HTML Style Sheets โดยมี Dave Raggett (สถาปนิกหลักของ HTML 3.0) เป็นผู้สนับสนุนให้มีการออกแบบร่างดังกล่าว ก่อนที่จะมีการจัดงานประชุม "Mosaic and the Web" (การประชุม "Mosaic and the Web" จัดขึ้นเมื่อ 17-20 ตุลาคม 1995 การประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมครั้งที่สอง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น การประชุม WWW ) ใน Chicago Dave ไ้ด้ตระหนักถึงความสำคัญของ HTML ที่จะต้องมีกลไกที่สามารถรองรับความต้องการต่อผู้สร้างเว็บไซท์ แม้ว่าแบบร่างแรกยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นจุดเริ่มที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต

ท่ามกลางผู้ที่สนใจต่อร่างแบบแรกของ CSS Bert Bos ผู้ร่วมแต่งหนังสือเล่มนี้ ซึ่งขณะนั้นกำลัังพัฒนา Argo (เบราเซอร์ Argo เป็นโปรเจ็คเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอินเตอร์เน็ทของบุคคลากรทางการศึกษาในแผนก มนุษยศาสตร์ โดยมี ปลักอิน เป็นจุดเด่น (ซึ่งเรียกว่า applets) ซึ่งต่อมา Netscape ได้นำไปรวมในเบราเซอร์ของตน ) ซึ่งเป็นเบราเซอร์ที่สามารถรองรับการปรับแต่งด้วยสไตล์ชีทได้ ทำให้เขาได้ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมกับ Håkon ข้อเสนอสองข้อในการพัฒนา CSS ในขณะนั้น แตกต่างจาก CSS ในปัจจุบันมาก หากแต่แนวคิดไม่แตกต่างไปจากกันเท่าไรนัก

หนึ่งในฟีเจอร์ของภาษาสไตล์ของ Argo คืือ มันสามารถประยุกต์ใช้กับภาษาอื่นในการเขียนเว็บได้นอกจาก HTML ซึ้่งต่อมาได้กลายเป็นเป้าหมายหลักในการออกแบบ CSS Argo ยังมีฟีเจอร์ที่ก้าวหน้าอีกมาก ซึ่งไม่สามารถบรรจุลงใน CSS 1 ได้ เช่น ซีเล็คเตอร์คุณลักษณะ(Attribute selector) หรือ การสร้างตัวหนังสือ ต้องรอบรรจุลงใน CSS 2

"Cascading Style Sheets" ไม่ได้เป็นภาษาสไตล์เพียงภาษาเดียวในขณะนั้น ยังมีภาษาของ ไป่ เว่ย ในเบราเซอร์ Viola และ ภาษา ของ Robert Raisch แห่งสำนักพิมพ์ O'Reilly ซึ่งเขียนขึ้นในตอนต้นของเดือนมิถุนายน 1993 หลังจากนั้นยังมี DSSSL ซึ่งเป็นสไตล์ที่ซับซ้อนและพัฒนาโดย มาตรฐานสำหรับการพิมพ์เอกสาร SGML DSSSL นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ HTML ได้เช่นกัน หากแต่ CSS มีข้อเด่นประการหนึ่งซึ่งทำให้มันแตกต่างออกจากภาษาอื่นๆ คือ การแสดงสไตล์ของเว็บนั้นจะไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้เขียนเว็บหรือผู้อ่านแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น หากแต่จะเป็นไปตามความต้องการของทั้งสองฝ่ายรวมกัน หรือ มีการลดหลั่นกัน (cascaded) นั่นเอง ซึ่งในบางครั้งยังมีผลจากความสามารถในการแสดงผลของอุปกรณ์และเบราเซอร์อีกด้วย

ตามที่ได้วางแผนไว้ ข้อเสนอ CSS เบื้องต้นได้ถูกนำเสนอที่การประชุมด้านเว็บไซท์ใน Chicago เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1994 การนำเสนอในวันนี้ได้นำมาสู่การถกเถียงอย่างมาก ประการแรก แนวคิดในการสมดุลระหว่างผู้พัมนาเว็บและผู้อ่าน โดยการใช้แถบเลื่อนโดยกำหนดให้ด้านหนึ่งเป็นผู้พัฒนาเว็บและอีกด้านเป็นผู้อ่าน โดยผู้อ่านสามารถปรับเลื่อนแถบเลื่อนเพื่อปรับแต่งหน้าเว็บตามความชอบส่วนตัวได้นั้น ฟังดูเหมือนนิยาย ประการที่สอง CSS นั้นมีกลไกเรียบง่ายเกินไป จนอาจไม่สามารถเอาไปใช้งานกับงานปรับแต่งหน้าเว็บได้จริง นักพัฒนาบางส่วนโต้แย้งว่า การที่จะทำการตกแต่งหน้าเอกสารของเว็บได้นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาโปรแกรมที่ทรงพลังอย่างมาก ในขณะที่ CSS เป็นอะไรที่ตรงกันข้าม โดยใช้รูปแบบการประกาศที่เรียบง่าย

ในการประชุม WWW เดือนเมษายน 1995 CSS ได้ถูกนำเสนออีกครั้ง (WWW3, การประชุมครั้งที่ 3 จัดขึ้นในเดือนเมษายน 10-14, 1995, ในเมือง Darmstadt, Germany). ทั้ง Bert และ Håkon ได้เข้าร่วมการประชุมด้วย (ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองได้เจอกัน) และเป็นครั้งแรกที่เขาทั้งสองได้แสดงการประยุกต์ใช้งาน Bert ได้แสดงการรองรับการใช้ สไตล์ชีทใน Argo ขณะที่ Håkon ได้นำเสนอเบราเซอร์ Arena ที่ทำการปรับปรุงให้รองรับ CSS Arena เป็นเบราเซอร์ที่เขียนขึ้นโดย Dave Ragett เพื่อใช้ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ เช่น แนวคิดเกี่ยวกับสไตล์ชีท เป็นต้น หลังจากที่ทั้งสองได้สิ้นสุดนำเสนอ ประเด็นที่ตามมากลับเป็น ข้อโต้แย้งในเรื่องแนวคิดสมดุลระหว่างผู้พัฒนาเว็บและผู้อ่าน ซึ่งตัวแทนของฝั่งผู้พัฒนาโต้แย้งว่า ผู้พัฒนาควรเป็นผู้ตัดสินใจว่าต้องการให้หน้าเอกสารเป็นเช่นไร เช่นหากในบางกรณีที่จำเป็นต้องมีการแสดงคำเตือนทางกฎหมาย ต่อผู้อ่านในบางหน้าเว็บ ผู้อ่านไม่ควรได้รับอนุญาตให้ปรับแต่งขนาดตัวอักษรคำเตือนได้ ขณะที่อีกฝ่ายซึ่งเป็นมุมมองของผู้อ่าน และฝั่งเดียวกับผู้แต่งหนังสือนี้แย้งว่า เมื่อความต้องการไม่ตรงกัน ผู้อ่านซึ่งเป็นผู้รับรู้ข้อมูลควรเป็นผู้ตัดสินใจลือกว่าต้องการรับข้อมูลในลักษณะใด

แม้ว่าความขัดแย้งจะมีอยู่ต่อไป งานพัฒนา CSS ยังดำเนินอยู่ใน จดหมายข่าว www-style โดยเริ่มเมื่อเดือนพฤษภาคม 1995 และการอภิปรายในนั้นนำไปสู่การกำหนด เสปก CSS ในเวลาต่อมา ในเวลา 3 ปี มีข้อความมากว่า 4000 ข้อความในคลังของจดหมายข่าวนี้

ในปี 1995 สมาพันธ์เว็บไซท์ (W3C) ได้จัดตั้งขึ้น และทางบริษัทได้เข้าร่วม workshops ในหลายข้อมีประโยชน์อย่างมาก ต่อสมาชิกและสตาฟของ W3C ต่อการพัฒนาทางด้านเทคนิค ซึ่งสไตล์ชีทเป็นหัวข้อของ workshop ต่อไปที่จะถูกนำมาศึกษา โดยสตาฟของ W3C ในครั้งนี้ก็คือ ผู้แต่งทั้งสองของหนังสือเล่มนี้นี่เอง ซึ่งขณะนั้นทั้งสองอยู่ที่เมือง Sophia-Antipolis ใน France ทางใต้ อันเป็นสำนักงานของ W3C ในยุโรป แต่เพื่อให้สะดวกต่อผู้เข้าร่วม workshop นี้ จึงได้จัด workshop ขึ้นที่ paris ซึ่งจะสะดวกต่อผู้เข้าร่วมซึ่งมาจากอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ การจัด workshop นี้เพื่อทดลองให้เห็นว่า W3C จะจัดงานนอกอเมริกาได้หรือไม่อีกด้วย ซึ่งผลออกมาเป็นไปด้วยดี และการจัดงานในครั้งนี้ยังยืนยันว่า สไตล์ชีทเป็นสิ่งที่เหมาะต่อการตกแต่งหน้าเว็บเป็นอย่างยิ่งอีกเช่นกัน หนึ่งในผู้เข้าร่วมงานในครั้งงนี้คือ Thomas Reardon จาก Microsoft ซึ่งกล่าวว่า Internet Explorer จะรองรับ CSS ในเวอร์ชั่นต่อไปอีกด้วย

ในตอนปลายปี 1995 W3C ได้ตั้งกองบรรณาธิการ HTML ขึ้น (HTML ERB) เพื่อคอยอนุมัติ สเปค HTML ในอนาคต และเมื่อ CSS ได้กลายเป็นที่สนใจของสมาชิกในกลุ่มงานใหม่ สเปค CSS จึงถูกนำเป็นเป้าหมายหนึ่งใน กลายผลักดันให้เป็น Recommendation หนึ่งในสมาชิกของ HTML ERB คือ Lou Montulli จาก Netscape หลังจากที่ Microsoft ได้ส่งสัญญาณว่าจะเพิ่ม CSS เข้าไปในเบราเซอร์ของตน Netscape จึงเห็นความสำคัญที่จะนำ CSS ไปใช้ในเบราเซอร์ของตนด้วย เพื่อไม่ให้หน้าเพจแสดงผลต่างกันไปตามแต่ละเบราเซอร์ กว่าที่สเปก CSS 1 จะทำการคลอดออกมาได้ เป็นเรื่องที่ยากเย็น เป็นอย่างมาก และ ใช้เวลายาวนาน แต่ในที่สุด สเปก CSS 1 ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของ W3C Reccomendation ในเดือธันวาคม 1996

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1997 W3C ได้สร้างกลุ่มงาน CSS ขึ้นภายใต้องค์กรของ W3C โดยมีหน้าที่สร้างฟีเจอร์ ซึ่ง CSS 1 ไม่ได้ระบุไว้ กลุ่มงาน CSS ได้บริหารงานโดย Chris Lilley ชาวสก็อตแลนด์ ซึ่ง W3C ดึงมาร่วมงานจาก มหาวิทยาลัย Manchester CSS 2 ได้ถูกบรรจุใน Recommendation ของ W3C ในเดือน พฤษภาคม 1998 และ CSS 3 น่าจะแล้วเสร็จตามมาในปลายปี 1999 ในช่วงเวลานั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ภาษา Html เท่านั้นที่ใช้ CSS ในการปรับแต่งการแสดงผลหน้าเว็บ แต่ยังมีภาษาที่มีพื้นฐานมาจาก XML อีกหลายตัวที่ใช้ CSS ในการควบคุมการแสดงผลอีกด้วย โดยมีเบราเซอร์ที่ออกมาในปลายปี 1998 เป็นพวกแรกที่ รองรับการใช้งาน CSS บนภาษา XML แม้ว่าการใช้งานสำหรับ แสดงผลข้อมูล XML จะยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างก็ตาม

กลุ่มงาน W3C ฃึ่งดูแล CSS อยู่มีชื่อเอย่างเป็นทางการว่า " กลุ่มงานคาสเคดดิ้งสไตล์ชีทและคุณสมบัติของรูปแบบ "(Cascading Style Sheets and Formatting Properties Working Group) โดยมีสมาชิกเพียง 15 คน อันมาจากบริษัทและองค์กรหลายๆแห่งทั่วโลก การทำงานของสมาชิกจะทำงานโดยใช้การโทรศัพท์ประชุมกันเพียงอาทิตย์ละชั่วโมง และทำการประชุมจริงเพียงปีละสี่หนในที่ต่างๆของโลก โดยล่าสุด จัดที่ Provo, Redmond, Sanfrancisco และ Paris ซึ่งที่ Paris การประชุมได้จัดที่สำนักงานของ EDF-GDF ซึ่งเป็นบริษัทก๊าซและไฟฟ้าของ ฝรั่งเศส โดยทางบริษัทได้เลี้ยงอาหารค่ำที่ยอดเยี่ยม และการทัวร์แม่น้ำในกรุง Paris และ Seine อันเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่เป็นความทรงจำที่ดื่มด่ำไม่กี่ครั้ง ในประวัติศาสตร์ของการทำงานที่ยากลำบากของกลุ่มงานอย่างมาก ชาวฝรั่งเศสต้องอิจฉาพวกเราเป็นอย่างมาก เพราะตามปกติแล้ว บริษัทก๊าซและไฟฟ้ามักไม่เสนอสิ่งใดฟรีๆแก่ผู้ใดแน่นอน

เบราเซอร์

ตำนาน CSS คงไม่อาจสมบูรณ์ได้หากไม่กล่าวถึงส่วนของเบราเซอร์ เพราะหากปราศจากเบราเซอร์ที่รองรับ CSS แล้ว CSS คงเป็นเพียงข้อเสนอที่มีเพียงนักวิชาการเท่านั้นที่สนใจ เบราเซอร์เชิงพานิชย์ตัวแรกที่ีรองรับการทำงานของ CSS คือ Internet Explorer 3 ซึ่งออกมาในเดือนสิงหาคม 1996 ซึ่ง ณ เวลานั้น CSS 1 ยังไม่ได้รับการบรรจุเป็น Recommendation ของ W3C Chris Wilson หัวหน้าทีมพัฒนาของ Microsoft ไม่ได้เล็งเห็นจุดนี้ ทำให้เวลาต่อมา Internet Explorer จำเป็นต้องมีการเพิ่มการปรับปรุง อย่างไรก็ตาม IE 3 สามารถรองรับ properties ต่างๆของ CSS ได้เป็นอย่างดีเช่น properties ที่เกี่ยวกับสี ฉากหลัง แบบอักษร และตัวหนังสือ อย่างไรก็ตาม IE 3 ยังไม่รองรับการทำงานที่เกี่ยวกับ Box Model ได้มากนัก

เบราเซอร์ ถัดมาที่ได้ประกาศว่า ได้รองรับการทำงานของ CSS คือ Netscape 4.0 เนื่องจากตั้งแต่แรกเริ่ม Netscape ยังเคลือบแคลงใจต่อหารใช้ Style Sheet อยู่ และการที่ต้องออกมาประกาศการรับรองการทำงาน CSS นั้น ก็เพียงเพื่อต้องการให้ Microsoft ไม่เป็นเจ้าเดียว ที่สามารถรองรับมาตรฐานใหม่ๆ จึงเป็นเหตุให้แม้ว่า Netscape 4.0 จะรองรับการทำงานอย่างมากมายก็ตามที แต่เนื่องจากนักพัฒนาของ Netscape ยังไม่ได้ทำการทดสอบการทำงานโดยสมบูรณ์ ทำให้ หลายๆ Properties ยังไม่สามารถทำงานได้ใน Netscape 4

การแสดงผล CSS ของ Netscape นั้นจะทำโดยแปลง CSS เป็น snipplet ของ Javascipt ภายในเบราเซอร์ แล้วจึงทำงานต่อไปคล้ายสคริปต์ปกติ โดยพัฒนาไปเป็นระบบที่เรียกว่า JSSS ซึ่งทำให้ไม่ต้องใช้ CSS เลยทั้งสิ้น หาก Netscape สามารถพัฒนา JSSS ได้สำเร็จ เราคงมีภาษา Style Sheet อีกภาษาหนึ่งโดยไม่จำเป็น ซึ่งโชคดีที่ไม่เป็นเช่นนั้น

ขณะเดียวกันเอง Microsoft ก็พยายามล้มบัลลังค์เจ้าแห่งเบราเซอร์ที่เป็นของ Netscape อยู่นั่นเอง Microsoft ปล่อย IE 4 ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนตัวเอ็นจิ้นที่ใช้แสดงผลของเบราเซอร์ออกมา โดยโมดูลเอ็นจิ้นนี้ มีหน้าที่ในการเรนเดอร์ CSS และมีชื่อเรียกว่า Trident โมดูล Trident นี้เองช่วยลดข้อจำกัดของ IE 3 แต่อย่างไรก็ดี โมดูลนี่ก็ยังคงมีข้อจำกัด และข้อผิดพลาดในตัวมันเองอยู่ดี อันเป็นเหตุให้ IE 4 ยังคงไม่รองรับ CSS 1 โดยสมบูรณ์ ท่านจะพบข้อผิดพลาดในการทำงานเกี่ยวกับ CSS ของ IE 4 ได้ใน โครงการมาตรฐานเว็บ (WaSP) ซึ่งได้กล่าวไว้ในเดือน พฤศจิกายน 1998 ในหัวข้อ "ปัญหา 10 ข้อยอดนิยมของ IE เกี่ยวกับ CSS" (รูป 20.1)

รูป 20.1 โครงการมาตรฐานเว็บ (WaSP) เ เป็นโครงการที่ทำการทดสอบการรองรับของเบราเซอร์ต่อ Recommendation ของ W3C หนึ่งในการทดสอบแรกของโครงการก็คือ การทดสอบการรองรับการทำงาน CSS ของ Internet Explorer

Screendump of WaSP page about M

นอกจากแสดงภาพแบบสแตติกแล้ว Trident ยังมีความสามารถในการเปลี่ยนค่า properties เช่น สามารถทำการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการเปลี่ยนค่า properties บนและซ้ายได้ อันทำให้เกิด HTML แบบไดนามิค (DHTML) ซึ่งตามหลักแล้ว DHTML เหมือนกับ JSSS (ในแง่ที่มีการใช้ภาษาสคริพท์ในการเปลี่ยนค่า Properties ของสไตล์เหมือนกัน) แต่ DHTML ต่างกันตรงที่ DHTML ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นภาษาสไตล์ชีทอีกภาษาหนึ่ง หากแต่ CSS เป็นส่วนหนึ่งของ DHTML นั่นเอง

เบราเซอร์ตัวที่ 3 ที่รองร้บ CSS คือ Opera เบราเซอร์จากบริษัทเล็กๆของประเทศนอร์เวย์ ซึ่งออกมาในปี 1998 และมีจุดเด่นที่มีขนาดเล็ก (เท่าขนาดฟลอปปี็) และสามารถปรับแต่งได้ รวมถึงมีฟังก์ชั่นเช่นเดียวกับเบราเซอร์จาก Microsoft และ Netscape Opera 3.5 ออกมาในเดือน พฤศจิกายน 1998 และรองรับ CSS 1 เกือบทั้งหมด นักพัฒนาของ Opera (Geir Ivarsøy) ยังได้ทำการทดสอบ การรองรับ CSS 1 ก่อนทำการจัดส่งโปรแกรมเบราเซอร์ของเขาอีกด้วย ตัวทดสอบ CSS 1 นั้นพัฒนาโดย Eric Meyer ด้วยความช่วยเหลือจากอาสาสมัครนับไม่ถ้วน อันเป็นส่วนช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างง่ายดาย

ขณะที่ทำการเขียนหนังสือเล่มนี้อยู่นั้น ทั้ง Netscape และ Microsoft ต่างพยายามทำงานหนักเพื่อปล่อยเบราเซอร์ใหม่ของพวกเขาออกสู่ตลาดให้ได้ในเร็ววัน Netscape ตัดสินใจที่จะใช้ตัวเอ็นจิ้นแสดงผลใหม่ชื่อ "nglayout" ซึ่งเขียนขึ้นใหม่หมดโดยเน้นการแสดงผลของ CSS เป็นสำคัญ เบราเซอร์ใหม่ของเขามีรหัสว่า "Gecko" ซึ่งสามารถดาวโหลดได้จาก http://www.mozilla.org. Microsoft เองก็ได้ปล่อยตัวทดลอง IE 5 ซึ่งได้ทำการพัฒนาการแสดงผล CSS ออกมาด้วย ซึ่งทางบริษัทควรพิจารณาผลการทดสอบของ WaSP เพื่อให้ IE สามารถรองรับ CSS 1 ได้โดยสมบูรณ์

ท่านสามารถคลิ๊กลิ้งไปยังเบราเซอร์ CSS ล่าสุดได้จากเว็บไชท์ของหนังสือเล่มนี้